Cute Polka Dotted Rainbow Bow Tie Ribbon Cute Polka Dotted Rainbow Bow Tie Ribbon

Sunday, December 18, 2016

10 คำสอนของพ่อหลวง



• คำสอนของพ่อ : การรู้จักใช้เงิน

“...ถ้าเราสะสมเงินให้มาก เราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ยโดยไม่แตะต้อง
ทุน ถ้าเราใช้มากเกินไปหรือเราไม่ระวัง เรากินเข้าไปเป็นทุน ทุนมันก็น้อยลงๆ จนหมด...”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2518


• คำสอนของพ่อ : การรู้จักนับถือความรู้

“...เราเป็นนักเรียน เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ... ถ้าหากว่าในด้านไหนก็ตาม เวลาไปปฏิบัติให้ถือว่า
เราเป็นนักเรียน ชาวบ้านเป็นครูหรือ ‘ธรรมชาติเป็นครู’ การที่ท่านทั้งหลายจะออกไป ก็จะไปหลายๆด้าน
... ก็จะต้องเข้าใจว่า เราอาจจะเอาความรู้ไปให้เขา แต่ก็ต้องนับถือความรู้ของเขาด้วย จึงจะมีความสําเร็จ
...”
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัครพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดําริอําเภอเมือง จังหวัด สกลนคร เมื่อวันที่
22 พฤศจิกายน พ.ศ.252


• คำสอนของพ่อ : การมีเสรีภาพ

“...การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้จําเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและ ความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึง สวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทําให้มีความยุ่งยากจะทําสังคมและ ชาติประเทศต้องแตกสลายโดยสิ้นเชิง ...”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแถลงการณ์สภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สวชพ.) เรื่อง ‘การใช้เสรีภาพเพื่อการปรองดองสมานฉันท์’ เนื่องในวันนักข่าว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2520


• คำสอนของพ่อ : การคิดก่อนพูด
“...หลักของคุณธรรมคือ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทําสิ่งไร จําเป็นต้อง หยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งม่ัน และจิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดคุ้นเคยชํานาญแล้ว จะกระทําได้คล่องแคล่วช่วยให้สามารถแสดงความรู้ความคิดในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ฟังได้เข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิด ทั้งหลักวิชา ทั้งหลักคุณธรรม...”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2535


• คำสอนของพ่อ : ความเจริญในการทำงาน


“... ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสําคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบ และหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้
ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับใช้กระทําการทํางาน สิ่งหลัง เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติงานให้ชอบคือให้ถูกต้องและเป็นธรรม”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนา อิสลาม 4 จังหวัดภาคใต้จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2519


• คำสอนของพ่อ : ความพอเพียง

“...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้า ใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง มากนัก ...มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน...กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์...”
พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540


• คำสอนของพ่อ : ชาติบ้านเมืองคืออวัยวะ
“…ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวง ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย ชีวิตร่างกายดํารงอยู่ได้เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทํางานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร
ชาติบ้านเมือง ก็ดํารงอยู่ได้เพราะสถาบันต่างๆ ตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น...”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตํารวจและอาสาสมัครพลเรือนในพิธีตรวจพลสวนสนามในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน
พ.ศ.2514


• คำสอนของพ่อ : คนดี
“…ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครที่จะทําให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทําให้ บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทําให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดี ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติค่ายลูกเสือวชิราวุธจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512


• คำสอนของพ่อ : การทำหน้าที่ของข้าราชการ
“…ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ตําแหน่งใด ระดับไหน มีหน้าที่อย่างไร ล้วนแล้วแต่มีส่วนสําคัญ อยู่ในงานของแผ่นดินทั้งสิ้น ทุกคนจึงต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มกําลังความสามารถด้วยอุดมคติ
ด้วยความเข้มแข็งเสียสละและระมัดระวังให้การทุกอย่างในหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรงด้วยความระลึกรู้ตัว อยู่เสมอว่าการปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานของตนมีผลเกี่ยวเนื่องถึงสุขทุกข์ของประชาชน ตลอดจน
ความเจริญขึ้นหรือเสื่อมลงของประเทศชาติ...”
พระบรมราโชวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557


• คำสอนของพ่อ : ความสามัคคี
“…สามัคคีนี้ก็คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้ เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และทํางานด้วยการซื่อสัตย์สุจริต ต้องส่งเสริมงานของกัน และกัน และไม่ทําลายงานของกันและกัน มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน อย่าเรื่องใครเรื่องมัน และงานก็ทํางานอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม...”
พระราชดํารัสที่พระราชทานในพิธีประดับยศนายตํารวจชั้นนายพล เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2519

Thursday, July 28, 2016

วันแม่แห่งชาติ






ความหมายของคำว่า "แม่"


คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูกเป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้านสำหรับผู้หญิงที่จะเป็นแม่คน หรือจะมีบุตรได้นั้น ควรจะมีอายุระหว่าง 20-30 ปี เนื่องจากในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เด็ก หรือว่าแก่เกินไป
คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ
ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่ว ๆ ไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่ม ๆ เช่น แม่บ้าน หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ
 แม่หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น 
- คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
- ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
- ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
- ภาษาเยอรมัน จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มุสเธอร์(Mutter)" หรือ "มาม้า(Mama)"
- ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
- คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า" (แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า มาหมะ (妈妈)

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
   ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
        วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


      



สุขสันต์...วันแม่

รักของแม่ มีสิ่งใด จะให้เปรียบ
หาเทียม สิ่งใด ในทั่วหล้า
รักของแม่ มอบรักแท้ จากอุรา
แด่ลูกยา ไม่เคยหวัง สิ่งตอบแทน
มาวันนี้ ลูกขอมอบ รักคืนกลับ
ยามแม่หลับ หรือตื่น ทุกแห่งหน
แม้ใกล้ไกล แม่อยู่ใน ดวงกมล
รักท่วมท่น เอ่อล้นใจ ในพระคุณ
ให้แม่ร่ม รื่นใจ ในความสุข
ไม่มีทุกข์ ภายใน ให้หม่นหมอง
ดุจกระแส แห่งธรร ล้ำเรืองรอง
คอยปกป้อง คุ้มภัย ให้แม่เอย

ที่มา.http://guru.sanook.com/2537/




Friday, June 24, 2016

คณะนิติศาสตร์


คณะนิติศาสตร์




คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเภท หนึ่งที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรละที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบบทบาทของบุคคลในทุกกิจกรรม และทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคมนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้


-การศึกษานิติศาสตร์คือ
 1. นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของ กฎหมายในส่วนสิทธิหน้าที่ และความรับผิดของบุคคลต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ

2. นอกจากนั้น นิติศาสตร์ยังมุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่ะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการนำนโยบายมาปฎิบัติให้ได้ผลจริงจัง ดังนั้น โดยนัยนี้กฎหมายจึงเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง คือ อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ การศึกษานิติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหานี้ด้วย

3. นิติศาสตร์ยังให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมาย ย่อมมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษานิติศาสตร์จึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่าต้อง “ บริสุทธิ์ “ เพื่อความมุ่งหมายสุดท้าย คือยุติธรรม การศึกษาจึงมิได้เน้นเฉพาะตัวบทกฎหมายเพียงประการเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงคุณธรรมด้วย


-แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท

1. ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งผู้ที่มิได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ เลย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ

2. ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่นตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายสามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะนอกจากจะสามารถประกอบอาชีพที่กันไว้เฉพาะสำหรับนักกฎหมายแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้อีกด้วย


-สถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชานิติศาสตร์ ในประเทศไทยได้แก่







คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

ณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคกลาง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ขอบคุณ ข้อมูลจาก